วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

เกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนใหม่

ก.พ.เตรียมออกเกณฑ์ประเมินผลงานใช้ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการเป็นเปอร์เซ็นต์ นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผยว่า เตรียมจะลงนามในหลักเกณฑ์และวิธีประเมินผลการปฏิบัติราชการ ออกตามความในมาตรา 76 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และออกกฎก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนตามมาตรา 74 ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานราชการนำไปใช้เป็นเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานและการปรับ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามระบบใหม่ในเดือนเม.ย. 2553 นายปรีชา กล่าวว่า การปรับขึ้นเงินเดือนระบบใหม่จะปรับปีละ 12% เพื่อลดความเหลื่อมล้ำไม่ให้เหมือนระบบซีที่ข้าราชการที่ทำงานดีเลิศได้ เลื่อน 2 ขั้น ทำงานปกติได้เลื่อนเพียงขั้นครึ่ง แต่เกณฑ์ใหม่หากไม่ทำงานก็ไม่ได้ปรับเพิ่ม “ตอนนี้ก.พ. ต้องเร่งออกพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ กฎกระทรวง และระเบียบก.พ. อีก 20 กว่าฉบับ รวมถึงหนังสือเวียนอีก 30 กว่าฉบับ รวมทั้งสิ้นกว่า 70 ฉบับ เป็นการเร่งด่วน เพราะใกล้บังคับใช้แล้ว เราต้องสร้างความเข้าใจให้ข้าราชการทั้งหมดที่มีอยู่ 4 แสนคนได้เข้าใจ” นายปรีชา กล่าว นายปรีชา กล่าวอีกว่า ก.พ.จะเสนอเกณฑ์การประเมินให้ส่วนราชการเลือก 6 แบบ ว่าจะใช้เกณฑ์ใดที่เหมาะสมสำหรับหน่วยงานตัวเอง เพราะลักษณะงานแตกต่างกัน หากหน่วยงานไม่ประสงค์จะใช้เกณฑ์ดังกล่าวก็ให้ไปกำหนดเกณฑ์ขึ้นเองได้แต่ ต้องมีมาตรฐาน “แต่ละหน่วยงานมีความ แตกต่างกัน เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีข้าราชการอยู่ 1 แสนคน มีทั้งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ธุรการ การประเมินย่อมต่างกัน” เลขาธิการก.พ. กล่าว นายปรีชา กล่าวว่า หากข้าราชการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประเมินผลงานสามารถร้องต่อผู้ บริหารระดับสูงถัดจาก ผู้บังคับบัญชาโดยตรง หรือร้องคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) หรือศาลปกครองได้

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โวยเปลี่ยนคำย่อโรงเรียนจาก"ร.ร." เป็น"รร." เหมือนโรงแรม ราชบัณฑิตแจงให้ดูบริบทของการใช้คำ

นักวิชาการกรมศิลปากรโวยราชบัณฑิตเปลี่ยนคำย่อโรงเรียนจาก"ร.ร."เป็น "รร."เหมือนโรงแรม จวกไม่มีมาตรฐานทำคนสับสน ราชบัณฑิตแจงให้ดูบริบทของการใช้คำย่อ เชื่อการเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ไม่เกิดปัญหา ด้านศิลปินแห่งชาติชี้ตั้งเกณฑ์ใหม่ได้แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม นายวัฒนะ บุญจับ นักวิชาการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวถึงกรณีราชบัณฑิตยสถานได้มีการเผยแพร่หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อในเว็บไซต์ของราชบัณฑิต โดยหลักเกณฑ์ข้อที่ 3 ระบุว่าคำประสม หากต้องใช้อักษรย่อให้ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ เช่น โรงเรียน ย่อว่า รร. แต่ความหมายที่คุ้นเคยกันโรงเรียน ย่อว่า ร.ร. ส่วน รร.จะหมายถึง โรงแรม ทั้งนี้กำหนดให้คำว่า โรงเรียน และโรงแรมเขียนย่อเป็น รร.ทั้งสองคำ ได้สร้างความสับสนให้หลายฝ่าย จนต้องสอบถามเรื่องดังกล่าวไปยังราชบัณฑิตยสถาน "หากอยากรู้ว่า คำย่อ รร. คำนี้เป็นโรงเรียนหรือโรงแรม ให้ดูคำบริบทเอา ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าหากมีข่าวพาดหัวว่า "นร.ใช้ รร. เป็น รร." แล้วจะให้แปลว่าอะไรดีเหมือนกัน" นายวัฒนะ กล่าวและว่า เป็นที่น่าสังเกตในเกณฑ์ข้อ 9 ซึ่งกำหนดว่า ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว และยกเว้นคำที่ใช้กันมาก่อน เช่น ตำบล ย่อ ต. รองศาสตราจารย์ ย่อ รศ. และพุทธศักราช ย่อ พ.ศ. การทำเช่นนี้ยิ่งทำให้เกิดความสับสนว่าเอาหลักเกณฑ์ใดมากำหนดขอบเขตของการยกเว้น นายวัฒนะ กล่าวว่า คำว่าพุทธศักราช เพิ่งกำหนดใช้อย่างเป็นทางการในรัชกาลที่ 6 หลังการให้กำเนิดโรงเรียนในรัชกาลที่ 5 เสียอีก แต่ราชบัณฑิตกลับประกาศให้เปลี่ยนคำย่อของโรงเรียนจาก ร.ร. เป็น รร. แต่พอเป็นพุทธศักราช กลับคงใช้ พ.ศ. ตามเดิม โดยบอกว่ายกเว้นให้เพราะเป็นตัวที่ใช้กันมาก่อนแล้ว จึงน่าสงสารคนไทยที่ต้องถูกบังคับให้เชื่อราชบัณฑิตยุคนี้ การตั้งกติกาเกี่ยวกับคำย่อของราชบัณฑิต หากพิจารณาให้รอบคอบแล้วจะเห็นว่ายังลักลั่น ไม่มีมาตรฐาน อีกทั้งยังไม่สร้างประโยชน์ให้กับคนในสังคมอีกด้วย อย่างไรก็ตามตนขอตำหนิหน่วยงานนี้ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี และสถาบันภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยของเยาวชนไทยทั้งประเทศด้วย นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การกำหนดจุดในการเขียนคำย่อรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะคำว่า โรงเรียน จากเดิมย่อว่า ร.ร. เปลี่ยนเป็น รร. ซึ่งไปซ้ำกับ รร. ที่ย่อมาจากคำว่า โรงแรม ไม่น่าจะสร้างความสับสนในการใช้ภาษา เนื่องจากสามารถใช้บริบทแวดล้อมในการสื่อความหมายได้ เพราะเราจะรู้ว่าเมื่อไหร่จะใช้คำดังกล่าวนั้น รวมทั้งจะมีคำบริบทแวดล้อมเป็นตัวช่วยบอกความหมาย นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2536 กล่าวว่า ปัญหาตัวย่อซ้ำกันในลักษณะเดียวกับคำว่า โรงเรียน (รร.) กับ โรงแรม (รร.) คงมีปัญหาในการใช้ไม่มาก หากจะใช้บริบทช่วยบอกความหมาย โดยส่วนตัวเห็นว่า ทางแก้ปัญหาวิธีอื่นเพื่อให้ตัวย่อของคำ 2 คำนี้มีความแตกต่างกัน เช่น เอาชื่อโรงแรมไว้ก่อนตัวย่อ รร. ส่วนชื่อโรงเรียนให้เอาตัวย่อไว้ด้านหน้า หรืออาจยกคำว่า โรงเรียน ให้เป็นกรณีพิเศษในกลุ่มคำที่ใช้กันเป็นที่นิยมแล้ว เช่นเดียวกับ ตัวย่อ พ.ศ. ที่มาจาก พุทธศักราชก็ได้ อย่างไรก็ตามเห็นด้วยกับการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ในการใช้ภาษาไทยเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน แต่จะต้องมีการเผยแพร่อย่างเพียงพอเพื่อให้เกิดการรับรู้และสามารถนำไปใช้อย่างถูกต้องด้วย

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:50:48 น.

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ของดีเมืองระนอง


ซาลาเปาทับหลี

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สถานะการณ์ไข้2009

การระบาดของไข้หวัด 2009 ยังไม่มีทีท่าจะหยุด ส่งผลกระทบให้งานอีเว้นท์
คอนเสิร์ตต่างๆ ซบเซา

เพราะผู้คนขยาดการไปรวมตัวกันเป็นหมู่มาก เสี่ยงต่อการติดเชื้อหวัด “บอย –อรรถพล ณ บางช้าง”บอสส์ใหญ่ AF6 ออกมาตการ คุมเค้ม ป้องกันการแพร่ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ในคอนเสิร์ตทรู เอเอฟ 6 เพื่อความสบายใจของแฟนพันธ์แท้ AF
ซึ่งได้แก่ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือไว้บริเวณทางเข้า-ออก ทุกประตู , แจกหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันตัวเอง (ขอรับได้ที่บูธโรงพยาบาลไทยนครินทร์) , จัดให้มีบูธของแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลไทยนครินทร์ไว้คอยให้บริการตลอดตั้งแต่ก่อนเริ่มจนจบคอนเสิร์ต , มีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องTrue Inside เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม และระวังตัวในการเข้าชมคอนเสิร์ต , มีโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์วิธีการป้องกันตัวเองตามจุดต่างๆ เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น , ทำตัววิ่งประชาสัมพันธ์ผ่านหน้าจอในรายการ True AF 6 , หลังคอนเสิร์ตจบจะมีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดภายในฮอลล์ และทำการปิดไว้ไม่มีการเข้า – ออกหรือใช้สถานที่จนกระทั่งถึงคอนเสิร์ตครั้งต่อไป(อีก 7 วัน) จะมีการเปิดใช้อีกครั้ง โดยทางบริษัทได้ทำการเช่าสถานที่ไว้ตลอดทั้งซีซั่น จึงควบคุมง่ายขึ้น
ดังนั้นสาวก AF6 ทั้งหลาย เชียร์และชมความสามารถของเหล่านักล่าฝัน ซีซั่น 6 ได้อย่างสบายใจไร้กังวล